เ ชิ ญ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ น ส มุ ด เ ยี่ ย ม  ค ลิ๊ ก ที่ นี่ !

ขอหนูได้มีสิทธิ !! (10-13 พ.ย 42 งานเวทีสิทธิเด็ก ชม.

       เสียงตบมือปะปนรอยยิ้มของเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมงานค่ าย "เวทีสิทธิเด็ก" ในวันนั้นยังปกคลุมอยู่ในใจของเรา ตัวแทนเด็กจาก 35 องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามารา ยงานชื่อ แต่ละคนที่เข้าร่วมต่างพกพารอยยิ้มเข้ามาภายในค่าย เสียงเพลงและกิจกรรมนันทนาการจากพี่ ๆ YMCA ได้เรียกเสียงหัวเราะและความเป็นเพื่อนภายในค่ายท่ามกลางบรรยากาศในสถานีศูนย์วิจั ยพืชไร่แม่โจ้ที่อบอุ่นด้วยดอกไม้และต้นไม่นานาพันธุ์
วันแรกเราเริ่มต้นจากการเรียนรู้ประสบการณ์จากทีมงาน ครู ข้างถนนที่ทำงานเรื่องเด็กถูกละเมิดทางเพศ โดยครูหน่อง เด็กแต่ละคนต่างตั้งใจฟังด้วยน้ำเสียงและการเล่าเรื่องจากปร ะสบการณ์จริงของเด็กที่เจ็บปวดนั้น ทำให้ผู้ใหญ่บางคนที่นั่งสังเกตการณ์ภายในงานนั้นต่อหลบหน้าเพราะคงรู้สึกอายใน พฤติกรรมของคำว่า "ผู้ใหญ่" และเกิดคำถามภายในใจเราว่า สังคมทุกวันนี้มันโหดร้าย หรือใจคนทุกวันนี้มันต่ำลงกันแน่ เด็ก ๆ กลายเป็นเหยื่ออันโอชะของพวกผู้ใหญ่แบบนี้อีกนานแ ค่ไหน และทำให้คิดว่ายังมีเสียงเล็ก ๆ อีกกี่รายที่ถูกปิดตา ปิดปาก ไม่สามารถร้องเรียกขอความช่วยเหลือจากสังคมรอบ ข้างได้เลย…
ช่วงเย็นพี่หนูหริ่ง…จากกลุ่มศิลปะวัฒนธรรมกระจกเงา จ.เชียงราย ได้เ ดินทางมาถึง ทำเอาทีมงานต่างร้องเฮกันด้วยความดีใจที่ได้เห็นพี่ชายที่แสนดีเดินเข้ามา พี่หริ่งจุดประเด็นด้วยกิจกรรมการแลกเปลี่ยนการเข้ าใจตัวเอง โดยการใช้ศิลปะการวาดรูปเข้ามามีส่วนร่วม เด็กสามารถวาด รูปหน้าเพื่อนที่เขาจับคู่กันและรับรู้ว่าเพื่อนเขาต่างมีหลาย ๆ สิ่งที่ไม่เหมือนกัน รูปจึงออกมาไม่เหมือนกัน ชีวิตคนเราก็ไม่เหมือนกัน ช่วง ดึกเราจัดกิจกรรมลมหายใจที่เ ชียงใหม่ในวันนี้ โดยแบ่งกลุ่มเด็กจำนวน 6 กลุ่ม ได้ลงพื้นที่เพื่อดูซิว่าเด็ก ๆ ในเชียงใหม่เขาทำอะไรกัน เราตั้งต้นจุดเดินกันที่ลานประตูท่าแพ เด็กห ลายคนตื่นเต้นในการลงพื้นที่ไนท์ บาร์ซ่าร์ บริเวณที่คนในเชียงใหม่ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสถานที่ที่ไม่เคยหลับ
      รุ่งเช้าของวันที่สอง เราจุดประเด็นให้แต่ละกลุ่มได้ทบทว นถึงการลงพื้นที่เมื่อคืนนี้ว่าเขาเห็นอะไรบ้าง เด็กแต่ละกลุ่มได้สั งเกตสังคมรอบ ๆ ข้างตัวเขาว่าจะมีเด็กและผู้คนอีกจำนวนมากที่ต้องมีชีวิตกลางคืนอย่างยากลำบาก รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในเมืองหลวงนั้นช่างแตกต่างสิ้นเชิงในจังหวัดชน บทของเขา
      เด็ก เด็กกลุ่มที่ไปท่องอินเตอร์เน็ทกับพี่หนูหริ่งบอกว่า ภาพโป๋ ภาพลามก รวมไปถึงการเชิญชวนให้มาสนใจใน web พวกนี้นั้นมีมากจนไม่สามารถบรรยายได้ เด็กบรรยายใ ห้เห็นถึงการสนทนากันในเชิงชู้สาว การต่อภาพให้น่าดึงดูดเร้าใจ พว กเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวว่า ถ้าเขาไม่เห็นไม่มาดูคงจะเชย สำหรับวัยรุ่นสมัยนี้ว่าเขามีที่ระบายความรู้สึกโด ยเฉพาะเรื่องเพศได้ แต่ก็มีหลาย ๆ ภาพและคำพูดที่หลาย ๆ ท่อนที่สื่อให้เห็นถึงความผิดปรกติในใจของผู้ที่เล่น
ช่วงบายเราได้ทีมงานที่ช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีชื่อว่า ศป.พด.(ศูนย์ประสานงานเพื่อพิทักษ์สิทธิเด็ก จังหวัดเชียงใหม่) ได้เอา สไลด์มาให้เด็ก ๆ ได้ดู สภาพปัญหาขอ งเด็กในปัจจุบันโดยเฉพาะปัญหาของเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เด็กแต่ละคนตั้งใจดูภาพสไลด์โดยมีคำถามในหัวใจขอ งเขาว่าแล้วใครละที่จะลงมาช่วยเด็กพวกนี้ต่อไปในอนาคต
เราโชคดีที่คุณมยุรี ยกตรี ผู้ปกครองบ้านเด็กเวียงพิงค์ได้น ำเอาข้อมูลและสไลด์ในการช่วยเหลือเด็กภายในบ้านเวียงพิง ค์ที่ทางกรมประชาสงเคราะห์ได้เตรียมรองรับเด็กกลุ่มที่ถูกละเมิดในทุก ๆ ด้านด้วยกิจกรรมกลางคืนพี่ ๆ กลุ่มต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ นำเสนอสื่อให้กับน้อง ๆ ได้เห็นแล ะตัดสินใจได้ว่าตัวเองนั้นสนใจสื่อใด เพื่อที่เขาจะได้รวมกันกับเพื่อน ๆ นำเสนอสื่อที่เขาชอบสื่อละคร นำทีมโดยพี่อ๊อด พี่แอนกลุ่มกั๊บไฟ (สื่อละครชุมชน)สื่อวิทยุ นำทีมโดย พี่หน่อง อ ดีตผู้รายงานข่าว FM100 สื่อวีดีโอ นำทีมโดย พี่โอ๋ จากกลุ่มอาสาและพี่ ๆ จากชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    เช้าวันที่ 3 พี่หริ่งได้นำกิจกรรม work shop ในประเด็นหั วข้ อเรื่อง "หุ่นพูดได้" โดยแบ่งกลุ่มน้อง ๆ ได้ 10 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน และร่วมกันเรียนรู้การแสดงออกถึงความคิดและการนำเสนอสิ่งที่เด็ก ๆ อยากจะพูดโดยใช้หุ่นกระดาษเป็นตั วบอ กเล่าเรื่องราวผ่านหุ่นตัวนี้ พี่หริ่งเริ่มกิจกรรมโดยให้สมาชิกในกลุ่มเป็นหุ่นที่สื่อแสดงออกท่าทาง เช่น ท่าถูกข่มขืน ท่าทำร้ายร่างกาย เด็กขอทานถูกทำร้าย บังคับใช้แรงงาน กิจก รรม นี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการสรรหาข้อมูลเด็กได้รับมาตลอดสองวัน โดยเน้นเรื่องของการถูกละเมิดนั้นเขาและเพื่อน ๆ ในทีมอยากจะเสนอหรือสะท้อนอะไรให้กับสังคม
อาหมี่เด็กหญิง อายุ 5 ขวบ ได้อธิบายหุ่นที่เธอทำร่วมกับเพื่อ นว่า "สนุกดีคะ หนูได้ระบายสีเอง หนูและพี่ ๆ ปั้นรูปเด็กขายดอกไม้ ให้ทุกคนสงสารบ้าง เพราะหนูก็เคยขายดอกไม้ที่ไนท์บาร์ซ่าร์ ไม่สนุกเลย" อาหมี่พูดและยิ้มหัวเราะอย่างมีความ สุข จะมีใครรู้บ้างว่าภายในใจของเด็กเกิดอะไรขึ้น ชีวิตโหดร้ายกับเด็กเพียง 5 ขวบเชียวหรือ และนี่คือตัวอย่างหุ่นที่เด็ก ๆ นับ 60 คนได้ร่วมกันปั้นมันขึ้นมา นำเสนอให้ผู้ใหญ่ในสังค มนี้ได้รับทราบว่าเด็กน้อย ๆ เหล่านี้เขาก็มีความคิด และจิตใจที่อยากเห็นสังคมที่ดีในวันหน้า เมื่อกิจกรรมนี้สิ้นสุดลง เราได้เห็นหุ่นในลักษณะท่าทางที่แตกต่างกันออกไป หุ่นแต่ละ ตัวก็ต่างเรื่องราว หุ่นบางตัวบอกว่านี่คือนรกบนดิน ซึ่งมันไม่น่าเกิดขึ้นในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ…
 

ช่วงบ่าย เด็กได้แยกกันเพื่อทำสื่อโดยมีสื่อ 3 ประเภท ได้แก่ ละคร วิทยุ และ วีดีโอ เด็กที่แยกไปทำสื่อละครได้แสดงออกทั้งน้ำเสียงและลีลาทาง เด็กที่แยกไปทำสื่อละครได้แสดงออกทั้งน้ำเสียงและลีลาท่าทางได้อย่างสนุกสนานส่วนเด็กที่แยกไปทำวิทยุได้ทดสอบน้ำเสียงกันอย่างมีความสุข อีกทั้งยังได้ไปสัมผัสกับห้องอัดเสียงจริงที่องค์กรแม็ปอีกด้วย และทีมเด็กที่ถ่ายทำวีดีโอได้เห็นเด็ก ๆ เดินแบกกล้องไปสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ของเขาถึงเรื่องประเด็นของความคิดเห็นในการเข้าค่ายและต้องการบอกอะไรให้กับสังคมรับทราบบ้าง ตกดึกเราร่วมกันบายศรีสู่ขวัญให้น้อง ๆ ทั้ง 60 คนด้วยหวังว่าเขาจะเป็นผู้เล็งเห็นถึงปัญหาสังคม และเกิดทีมงานที่จะสร้างสรรค์เวทีสิทธิเด็กต่อไปในปีหน้า…เด็กหลายคนกล่าวคำร่ำลาในคืนวันนั้นว่า พวกหนูอยากให้สังคมและผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้นำของแต่ละจังหวัดได้เห็นถึงความสำคัญของเด็ก หนูเป็นคนหนึ่งที่ก่อนนี้ไม่เคยมาเข้าค่ายแบบนี้ ค่ายนี้ทำให้หนูเห็นปัญหาของเพื่อน ๆ รวมถึงปัญหาของสังคมมากขึ้น
เด็กบางคนที่มาจากชุมชนแออัดได้ลุกขึ้นพูดเพื่อแสดงความในใจว่า " ถึงแม้พวกเขาจะมาจากสถานที่ต่ำต้อย แต่เมื่อมาอยู่ที่นี่เขาได้ความรักและความเข้าใจจากเพื่อนและพี่เลี้ยง ได้มีกิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ได้แบ่งชนชั้นวรรณะ"
เด็กที่มาจากสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งได้พูดว่า "ถึงผมจะมาจาสถานสงเคราะห์ ผมได้เห็นปัญหาเหล่านี้มาตั้งแต่เล็กจนมาถึงปัจจุบัน ผมอยากให้ปัญหาพวกนี้น้อยลง ผมคนหนึ่งที่จะขอเข้าร่วมในการทำงาน หรือถ้ามีอะไรให้ผมช่วยขอให้บอก ผมยินดีเสมอ"  เด็กบางกลุ่มมาจากโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง ได้แสดงความเห็นว่า "ถ้าพวกหนูไม่ได้มาที่ค่ายนี้ หนูคงไม่รู้หรอกว่ายังมีเพื่อน ๆ และเด็กที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคมมากเพียงใด ขอขอบคุณเวทีนี้ที่ทำให้เราเรียนรู้อะไรมากขึ้น"

เช้าวันที่ 13 พ.ย 42
เด็กจากทุกสารทิศ แต่ละองค์กรที่ทำงานด้านเด็ก ต่างร่วมมือ ร่วมแรงในการจัดซุ้มนิทรรศการของตัวเอง เด็กตาบอด แ ละเด็กพิการ ได้เปิดร้านขายของ ภาพของเด็กทุกชนชั้นได้มารวมกันที่ลานเอน กประสงค์ข่วงประตูท่าแพในวันนี้… ซุ้มของการวาดภาพได้มีเด็ก ๆ สนใจและเข้าไปร่วมวาดภาพ และทำผ้าบาติดไม่ขาดสาย เด็กหลาย ๆ คนรอโอกาสที่จะได้ถา มคำถามด้วยตัวเองกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และพวกเขาก็คงดีใจไ ม่น้อยที่จะได้รับคำตอบจากท่านผู้นำจังหวัด
10.00 น. ท่านรองผู้ว่าฯมาถึงสถานที่จัดงาน ตัวแทนของเด็กที่เข้าร่วมวันงานเวทีสิทธิเด็กได้กล่าวรายงาน และท่านรอง ผู้ว่าฯ กล่าวเปิดงานด้วยรอยยิ้มที่อบอุ่นแก่เด็ก ๆ โดยตัดริบ ปิ้นที่เด็กทำขึ้น พร้อมทั้งดอกไม้ที่เด็ก ๆ เตรียมมามอบให้ท่านด้วยความหวังว่าท่านยังสนใจปัญหาของเด็กประเทศนี้อยู่ มือน้อยของเด็กจูงท่านเข้าชมบริเวณรอบ ๆ งาน เป็นภาพที่น่ารักและอบอุ่นยิ่งนักในสายตาของผู้พบเห็น

     จากนั้นได้เปิดเวทีเพื่อให้เด็กได้ถามคำถามต่าง ๆ แก่ท่านรองผู้ว่าและผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน เด็กจำนวน 30 คน ได้เตรียมประเด็นปัญหาต่าง ๆ เอาไว้ในมือ น้องหนึ่ง เด็กจากโรงเรี ยนสอนคนตาบอด ได้กำคำถามในมือแน่น เพราะเมื่อคืนนั้นนั่งคิดคำถามเพื่อมาถามท่านโดยเฉพาะ เพราะอยากจะได้คำต อบเรื่องของสิทธิในการเข้าเรียนและสิทธิของการทำงานของเด็กพิการว่ามีหน่วยงานไหนที่พอจะหยิบยื่นโอกาสดี ๆ ให้ กับเด็กพิการบ้าง
สมหวัง เด็กเร่ร่อนคนหนึ่งได้เล่าให้เราฟังว่า "เมื่อคืนผ มนอนไม่หลับเลย เพราะผมคิดหาคำถามมาถามท่านผู้ ว่าฯ กว่าจะคิดได้ก็ดึกมากแล้ว สิ่งที่ผมอยากถามท่านก็คือเรื่องของการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนในจังหวัดเชียงใหม่ว่าท่านมีแผนงานช่วยเหลือพวกผมหรือไม่"
น้องหญิง จากชุมชนแห่งหนึ่ง ได้เล่าว่า "หนูตื่นเต้นมากที่จะได้ถามคำถามท่าน ท่านดูเป็นคนใจดีและรับฟังพวกเรา หนูมีคำถาม ถามท่านว่า หนูและเพื่อน ๆ ที่ถูกกดขี่แรงงาน โดยทำงานหนัก แต่ได้เงินน้อยนั้น มีวิธีการแ ก้ไขและช่วยเหลือหนูอย่างไร"
น้องนันท์จากโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ถามถึงเรื่องการเอาผิดกับผู้ที่ข่มขืนเด็กว่า "ทำไมถึงปล่อยปะละเลยกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ข่มขืนเด็กเป็นครู แต่พอเรื่องเกิดขึ้นเขากลับทำโทษเพียงแค่ย้ายครูไปประจำที่อื่นโดยไม่เอาผิดอย่างไร"
ผู้ใหญ่บางคนจูงลูกจูงหลานเข้ามาสัมผัสกิจกรรมในวันนี้ เด็ กหลายคนแสดงความสามารถในเวทีที่ทีมงานจัดขึ้น ที่สำคัญการจัดงานวันนี้แรงงานทั้งหมดเราได้มาจากกลุ่มเด็กและเยา วชน จากทีมงานเวทีสิทธิเด็กเมื่อปีที่แล้ว ที่ผ่านมาถึงแม้เนื้อที่ของการจัดงานของเราจะถูกผู้ใหญ่บางคน บางองค์กรใช้สิ ทธิของความเป็นผู้ใหญ่กำหนดให้งานของเด็กมีที่ว่างเพียงเศ ษเสี้ยวของพื้นที่ส่วนใหญ่ก็ตาม แต่รอยยิ้มและความภาคภูมิใจของทีมงานเด็ก เกือบ 60 ชีวิต มิได้น้อยลงและมิได้ย่อท้อเ ลย เพราะสิ่งที่เราเห็นในวันงานนั้นมันยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยา ย เสียงเล็ก ๆ เป็นร้อย ๆ เสียง ร้อย ๆ ดวงใจ ได้ร้อยหัวใจของผู้ใหญ่ในบ้านเราให้หันกลับมามองเสียงเล็ก ๆ เหล่านี้บ้าง
ผู้ใหญ่จะรู้ไหมว่าโอกาสที่เด็กจะเรียกร้องสิทธิของเขานั้นยังมี อีกมาก แต่ผู้ใหญ่เสียอีกที่มีเวลาน้อยลงในการช่วยเหลือให้สังคมดีขึ้น ถ้าวันนี้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองของเรายังไม่เล็งเห็นถึงค วามสำคัญในการปูพื้นฐานเรื่องสิทธิให้กับเด็กแล้ว โปรดอย่า คาดหวังว่าสังคมต่อไปที่เด็กจะเติบโตขึ้นมาเป็นเจ้าของโลกใบนี้จะสรรสร้างความงดงาม หรือเรา ท่าน อาจจะได้รับผลกระทบจากการกระทำของท่านในวันนี้ก็ได้ …
--------------------------------------------
** กิจกรมทั้งหมดนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประจำประเทศไทย และความร่วมมือ ขององค์กรด้านเด็กในภาคเหนือ ทั้งรัฐบาลและเอกเชน รวม ถึงกลุ่มประชาชน ห้างร้านในจังหวัดเชียงใหม่

 กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก 127/8 ม.2 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.แฟ็กซ์ (053) 213192

Email Addess :  VGCD36@hotmail.com

[VGCD] [Who are VGCD] [Activities] [Help] [Staff] [Child] [story] [English]

L i n k ไป หา พันธมิตร

กลุ่มกระจกเงา

มูลนิธิเด็ก

สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน