Child rights

      เ ชิ ญ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ น ส มุ ด เ ยี่ ย ม  ค ลิ๊ ก ที่ นี่ !

ไ ข ข้ อ ข้ อ ง ใ จ ข อ ง พ่ อ แ ม่

เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

(คัดจากเอกสาร ไขข้อข้องใจของพ่อแม่เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย)

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคืออะไร?

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนิยามคำว่า "เด็ก"ว่าอย่างไร ?

           อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งได้รับการรับรองโดยองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ 2532 ได้กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่เด็กทุกคนทั่วทุกแห่งหนมีสิทธิที่จะได้รับ ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิตอยู่รอด สิทธิในการได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากปัจจัยทั้งหลายทั้งปวง ที่อาจมีผลร้ายต่อการพัฒนาของเด็ก และสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมและในครอบครัว
           อนุสัญญาฯ ให้การคุ้มครองสิทธิเหล่านี้โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามในการให้บริการทางสาธารณสุข การศึกษา กฎหมาย และสังคมแก่เด็กในประเทศของตน
          อนุสัญญาฯ เป็นผลของความพยายามเป็นเวลา 10  ในการหารือและเจรจาต่อรองระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐทนาย ผู้ชำนาญการด้านการอนามัยสุขภาพนักสังคมสงเคราะห์ นักการศึกษากลุ่มผู้สนับสนุนช่วยเหลือเด็ก องค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มศาสนาจากทั่วโลก
           อนุสัญญาฯ นับได้ว่าเป็นสนธิสัญญาทางด้านมนุษยชนที่ได้รับการรับรองอย่างกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีประเทศที่ลงนามเป็นเป็นภาคอนุสัญญาแล้วทั้งสิ้น 191ประเทศ โดยยังขาดอยู่เพียงอีกสองประเทศเท่านั้นในโลก

            อนุสัญญาฯ นิยามคำว่า "เด็ก" ว่าเป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นแต่ว่ากฎหมายของบางประทศจะกำหนดอายุตามกฎหมายของการเป็นผู้ใหญ่ไว้ต่ำกว่า 18 ปี

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จะมีผลแทนที่กฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือไม่

            เมื่อประเทศหนึ่งลงนามรับรองอนุสัญญาฯ เท่ากับว่าระเทศนั้นได้ยอมรับที่จะทำการศึกษาทบทวนกฎหมายภายในประเทศของตนที่เกี่ยวกับเด็ก ขั้นตอนดังกล่าวหมายรวมถึงการประเมิน การให้บริการทางสังคม ระบบกฎหมายสุขภาพและการศึกษา รวมทั้งงบประมาณการสนับสนุนบริการต่าง ๆ เหล่านี้ รัฐบาลของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ จะต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่จำเป็นเพื่อที่จะประกันว่า ได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ ในด้านต่าง ๆ เหล่านี้
            ในบางกรณี การดำเนินการดังกล่าวอาจหมายถึงการแก้ไขกฎหมาย หรือการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางนิติบัญญัติ ไม่ได้เป็นผลมาจากการกำหนดจากภายนอก แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนปกติของการร่างหรือการปฏิรูปกฎหมายของแต่ละประเทศ
มาตรฐานของสิทธิเด็กและการอยู่ดีกินดีของเด็กในหลาย ๆ ประเด็น ได้มีการกำหนดไว้แล้วบ้างในรัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในกรณีที่ประเทศใดกำหนดมาตรฐานทางกฎหมายไว้สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ตามอนุสัญญาฯ ก็จะยึดเอามาตรฐานที่สูงกว่าเป็นหลักเสมอ

ทำไมจึงจำเป็นต้องมีเอกสารที่กำหนดเรื่องสิทธิของเด็กขึ้นโดยเฉพาะ

                  ถึงแม้ว่าประเทศทั้งหลายจะมีกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและสวัสดิการของเด็กอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงยังมีอีกหลายประเทศที่ไม่สามารถดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่ตนกำหนดไว้ในด้านเหล่านี้ได้ เด็ก ๆ ต้องเผชิญกับความยากจน การขาดบ้านช่องที่พักพิง การถูกประพฤติมิชอบ การถูกทอดทิ้ง การเจ็บป่วยโดยโรคที่สามารถป้องกันได้ การได้รับโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันในด้านการศึกษาและระบบกระบวนการทางยุติธรรมที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและผลประโยชน์โดยเฉพาะของเด็ก เด็กที่เป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ มักได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ ปัญหาเล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา
                  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และการรับรองอนุสัญญาฯ อย่างกว้างขวาง เป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับศักดิ์ศรีขั้นพื้นฐานแห่งความเนมนุษย์ของเด็กทุกคน และความจำเป็นเร่งด่วนในการประกันสวัสดิการและการพัฒนาของเด็ก อนุสัญญาฯ ย้ำเป็นพิเศษว่าสิทธิในการได้รับคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานนั้นเป็นสิทธิของเด็กทุกคน มิใช่อภิสิทธิ์ของเด็กเพียงบางกลุ่มเท่านั้น

 กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก 127/8 ม.2 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.แฟ็กซ์ (053) 213192

Email Addess :  VGCD30@hotmail.com

[VGCD] [Who are VGCD] [Activities] [Help] [Staff] [Child] [story] [English]