เ ชิ ญ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ น ส มุ ด เ ยี่ ย ม  ค ลิ๊ ก ที่ นี่ !

การพัฒนาเด็กเร่ร่อน - หนทางสู่ความยั่งยืน

จากการได้ร่วมเดินไปตามเส้นทางชีวิตกับเด็ก ทำให้พบเรื่องราวและปัญหาเด็กมากมาย เด็กคนหนึ่งเราไม่สามารถคาดหมายได้กับการช่วยเหลือเขาเพียงครั้งเดียว เด็กมักจะย้อนมาขอความช่วยเหลืออยู่ต่อเนื่อง เขามองเราเป็นครู เป็นเพื่อน พ่อแม่ ที่ปรึกษา และต้องการ การยอมรับจากทุกคนในสังคม บางครั้งพวกเรารู้สึกท้อแท้เหมือนกันว่า ทำอย่างไรพวกเด็ก ๆ จะสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ บ่อยครั้งที่เราช้ำใจกับการที่เด็กคนหนึ่งต้องกลับไปใช้ยาเสพติดอีก แต่ก็มีหลายครั้งที่เกิดความภาคภูมิใจที่พวกเขาเอาชนะใจตนเองได้
กระบวนการบ้านพักเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำอย่างไรให้มันกลายเป็นบ้านหลังที่สองของเด็ก ทั้งนี้ไม่ได้หมายเพียงแค่แหล่งที่อยู่อาศัยพักพิงเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นที่ ที่เด็กสามารถเข้ามาพักพิง รับความรู้สึกที่ดี ๆ ความรัก ความเข้าใจต่อพวกเขาด้วย ตลอดเวลาของการเปิดบ้านหลังนี้พวกเราพยายามเรียนรู้ร่วมกัน ปรับตัวเข้าหากัน เด็กจะพยายามเรียนรู้กับกฎระเบียบของสังคม น้ำใจ การอยู่ร่วมกัน มารยาท การดูแลสุขภาพ ครูและอาสาสมัครก็ต้องเรียนรู้กับพฤติกรรมที่เด็กเป็นอยู่ และปรึกษาหารือร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้เด็กเกิดการพัฒนาในระยะยาวอย่างแท้จริง
ในอนาคต เราวาดฝันว่า อยากจะมีบ้านสักหลังที่อยู่ห่างออกไปในชนบท มีบริเวณพอประมาณที่จะสามารถทำการเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา พอที่จะเลี้ยงตนเองได้ มีที่สำหรับให้เด็กได้วิ่งเล่น ออกกำลังกาย และร่วมกับคนในชุมชนที่เราอยู่ดูแลช่วยเหลือเด็ก และวันนั้นเราหวังว่าเด็กจะพึ่งพาตนเองได้ และมีหนทางในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น

---------------------------------------------------------หากมีข้อคิดเห็น กรุณาส่งมาที่  VGCD36@hotmail.com

            เวลาที่ผ่านมาของการทำงานกับเด็กเร่ร่อน เราพยายามหาแนวทางที่จะช่วยเหลือและพัฒนาเด็กกลับเข้าสู่สังคมอย่างยั่งยืน หลายคนถามว่า "ยั่งยืนคืออะไร ?" ก็คงนิยามว่า "การที่เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปรกติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่หวนกับมาใช้ชีวิตเร่ร่อนอีก" ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะชีวิตของเด็กแต่ละรายด้วย หากย้อนมองดูวีถีชีวิตของเด็กแล้วมันยากเหลือเกินกับการที่เด็กคนหนึ่งจะพัฒนาตนเองจนสามารถเข้าสู่สังคมได้ เด็กส่วนใหญ่เริ่มก้าวออกจากครอบครัวที่มีปัญหาในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน พ่อแม่แยกทางกัน ทิ้งเด็กให้อยู่กับญาติพี่น้อง หรือพ่อแม่ทะเลาะเบา ะแว้งกัน เด็กรู้สึกว่าไม่อยากทนรับกับสภาพปัญหาเช่นนี้ จึงต้องการออกมาแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าเดิม  ด้วยวัยเด็กที่ยังรู้ไม่เท่าทันกับอารมณ์ของตนเอง และอยากจะคบเพื่อน คบฝูง สนุกส นานเป็นหลัก จึงทำให้เขาหันหน้ามาคบเพื่อนเป็นที่พึ่งพิง เด็กเร่ร่อนจำนวนมากที่ถูกอิทธิพลกลุ่มเพื่อนนำพาไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การเสพยาเสพติดตั้งแต่อย่างอ่อน เช่น บุหรี่เหล้า กาว กัญชา ยาบ้า จนกระทั่งชนิดรุนแรง รวมถึงการตกเป็นเครื่องมือของการค้าขายยาเสพติด การขายบริการทางเพศ พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้กล ายเป็น วิถีชีวิตของเด็ก
ขณะที่กระแสสังคมภายนอกนำพาความเจริญเข้ามาสู่เมือง มีสถานที่เที่ยวกลางคืนมากขึ้น บาร์ เทค ที่ต้อนรับชาวต่างชาติมีมากขึ้น เด็ก ๆ เหล่านี้จึงหลงไหลไปกับ ภาพลวงตา กรอปกับชีวิตที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและขาด ทางเลือก จึงนำพาตนเองไปสู่ความเสี่ยงอย่างง่ายดาย  งานที่เราทำจึงพยายามมองการพัฒนาโดยใช้ตัวเด็กเป็นแกน และมุ่งพัฒนาศักยภาพของเด็กให้อย ู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มีกิจกรรมที่เข้าไปถึงตัวเด็กในพื้นที่ ให้คว ามรู้ข้อมูล และพัฒนาทักษะชีวิต เปิดบ้านพักฉุกเฉินเพื่อรองรับเด็กที่ออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อน ส่งเสริมการศึกษาในและนอกระบบ รวมถึงการส่งเด็กกลับคืนสู่ครอบครัว

 กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก 127/8 ม.2 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.แฟ็กซ์ (053) 213192

Email Addess :  VGCD36@hotmail.com

[VGCD] [Who are VGCD] [Activities] [Help] [Staff] [Child] [story] [English]

L i n k ไป หา พันธมิตร

กลุ่มกระจกเงา

มูลนิธิเด็ก

สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน