ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน

PERFORMANCE INDICATORS

แผนงานหลักที่ 1 : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการเรียนการสอน : ก้าวหน้า มีมาตรฐาน ทันสมัย ดำรงความเป็นไทยในความเป็นสากล

  1. ทุกโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และให้ได้ผลในภาพรวมอย่างแท้จริง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกรุงเทพมหานคร (ด้านภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย) ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์กลางของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั่วประเทศ และจำนวนนักเรียนที่อยู่ในระดับปรับปรุงมีไม่เกินร้อยละ 10
  3. โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครร้อยละ 10 เข้าร่วมโครงการรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษา (ISO 9002) และได้รับการรับรองไม่น้อยกว่า 10 โรงเรียน
  4. นักเรียนที่จบจากโรงเรียนกรุงเทพมหานครทุกคน สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างน้อย 2 โปรแกรม
  5. นักเรียนที่จบจากโรงเรียนกรุงเทพมหานครทุกคน มีความรู้และสามารถเล่นกีฬาและดนตรีได้ไม่น้อยกว่าคนละ 1 อย่าง
  6. นักเรียนทุกคนมีความรู้และเข้าใจในวิถีชีวิตชุมชน เห็นคุณค่า และปฏิบัติกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมกับชุมชนได้อย่างสอดคล้องและสม่ำเสมอ

แผนงานหลักที่ 2 : การพัฒนาคุณภาพชีวิต

  1. นักเรียนทุกคนปลอดจากภาวะทุพโภชนาการ ไม่ติดยาเสพติด เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณทาง ร่างกายและจิตใจได้รับการช่วยเหลือ
  2. ทุกโรงเรียนมีบรรยากาศร่มรื่น สะอาด มีสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้และปลอดภัย
  3. นักเรียนทุกคนเป็นสมาชิกและเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม ชุมนุม อย่างน้อยคนละ 2 กิจกรรม
  4. มีโรงเรียนที่จัดให้เด็กที่พิการทางกายและบกพร่องทางสติปัญญา ได้เรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างน้อย 50 โรงเรียน
  5. นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพมหานคร เข้ารับการศึกษต่อในระดับที่สูงขึ้น จากร้อยละ 93 เป็นร้อยละ 97

แผนงานหลักที่ 3 : การบริหารจัดการทางการศึกษา

  1. ทุกโรงเรียนได้รับการกระจายอำนาจ 3 ด้าน คือ ด้านงบประมาณเพื่อการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการเงิน ทรัพย์สินและพัสดุ
  2. มีการปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน โดยการจัดตั้ง ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์นิเทศบริการ ศูนย์วิชาการเขต จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ฯลฯ
  3. โรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 11 โรงเรียน ได้รับการปรับปรุงการเรียนการสอนแบบรวมชั้น (Non - Class)
  4. มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษาและระบบเครือข่ายเพื่อการบริหารการศึกษา เชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษา สำนักงานเขต และโรงเรียนทุกแห่ง
  5. จัดตั้งสหวิทยาเขตและประชาคมการศึกษาในทุกเขตพื้นที่
  6. ทุกโรงเรียนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน และกำหนดพันธะสัญญาร่วมกันในการพัฒนาการศึกษา
  7. มีเอกชนเข้ามารับดำเนินการในการจัดการศึกษาบางด้านในโรงเรียน 50 แห่ง

แผนงานหลักที่ 4 : สถานภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมให้เข้าศึกษาต่อในประเทศ ในระดับสูงกว่าปริญญาตรีในสาขาที่ราชการต้องการ อย่างน้อยปีละ 100 คน
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการฝึกอบรม ศึกษาและดูงานในการพัฒนางาน อย่างน้อยคนละ 2 ครั้งต่อปี
  3. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าทางวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยสำนักการศึกษาให้การสนับสนุนจัดบริการและวิทยากร
  4. ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ได้รับการยอมรับ ยกย่อง และประกาศเกียรติคุณทั้งในระดับกรุงเทพมหานคร ระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 200 รายต่อปี
  5. บุตรครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการสนับสนุนเงินทุนการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรีทุกคน
  6. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีมาตรฐานวิชาชีพและได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบทางการศึกษาของกรุงเทพมหานคร มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนการทำงานเป็นกรณีพิเศษ
  7. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพระดับที่ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  8. ทุกสำนักงานเขตหรืออย่างน้อยในระดับกลุ่มสำนักงานเขต มีชมรม/สมาคมครูที่จะส่งเสริมพัฒนาองค์กรวิชาชีพครูให้มีมาตรฐานและมีศักยภาพ
  9. ผู้บริหารโรงเรียนทุกคนบริหารงานในรูปแบบประชาธิปไตยให้เกิดโอกาสในการทำงานที่เท่าเทียมกัน
  10. จัดตั้งชมรม/สมาคมครูผู้เกษียณอายุราชการ

แผนงานหลักที่ 5 : การสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนสามประโยชน์ที่สามารถบริการชุมชนได้ครบตามวัตถุประสงค์