โลกสมุนไพร   โรคกระดูกพรุน   โรคปวดหลัง   โรคปวดเข่า   โรคเกาท์

 มาตรฐานสมุนไพร
         การนำสมุนไพรมาใช้เป็นยา ต้องแน่ใจว่าสมุนไพรที่นำมาใช้นั้นเป็นสมุนไพรชนิดที่ต้องการจริง และจำเป็นที่ต้องควบคุมมาตรฐานของสมุนไพรที่นำมาใช้ปรุงยาในแต่ละครั้งเพื่อให้ยาที่ได้มีฤทธิ์ตามที่ต้องการเหมือนกันทุกๆ ครั้ง
         มาตรฐานของสมุนไพรบางชนิดมีกำหนดไว้ใน Thai Herbal Pharmacopoeia นอกจากนี้ ยังศึกษาได้จากหลักการทั่วไปในการประกันคุณภาพยาจากสมุนไพร ตามมาตรฐานของประเทศเยอรมัน รวมถึงแนวทางขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐานของสมุนไพร และยาจากสมุนไพร ทั้งนี้ การควบคุมมาตรฐานของสมุนไพรจะควบคุมในส่วนใหญ่ๆดังนี้
            1. ตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืชว่าเป็นสมุนไพรชนิดนั้นๆ จริง โดยอาศัยการดูจากลักษณะภายนอก (Macroscopic) และลักษณะเฉพาะของยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Characters)
            2. ตรวจสอบสิ่งปลอมปน ทั้งส่วนอื่นๆ ของพืชชนิดนั้น หรือพืชอื่นๆ ที่อาจปะปนมา
            3. ตรวจหาปริมาณสารสำคัญ หรือ ปริมาณสารสกัดที่ละลายออกมาในตัวทำละลายบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ น้ำ (Alcohol / Water extractive) โดยจะต้องมีไม่ต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดไว้
            4. ตรวจหาปริมาณความชื้น และน้ำหนักที่หายไป เมื่อทำให้พืชแห้ง (Drying loss) โดยจะต้องมีไม่มากกว่าที่ระบุไว้
            5. ตรวจหาปริมาณเถ้า (Ash contents) เพื่อช่วยตรวจสอบว่าเป็นส่วนของพืชนั้นๆ จริงๆ รวมถึงช่วยตรวจสิ่งที่อาจแปลกปลอมมา เช่น ดิน ทราย เป็นต้น
            6. ตรวจหาสารตกค้างที่เป็นยาฆ่าแมลง รวมทั้งโลหะหนักต่างๆ จะต้องมีไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
            7. ตรวจหาปริมาณสิ่งปนเปื้อน และเชื้อที่ก่อโรค จะต้องมีไม่เกินมาตรฐานเช่นกัน

 

   ข้อแนะนำในการเลือกซื้อยาสมุนไพร
         ในปัจจุบัน ยาสมุนไพรอาจพบได้ในหลายรูปแบบ มีทั้งยาสมุนไพรที่ใช้เป็นยาเดี่ยวๆ ยาสมุนไพรที่ใช้เป็นตำรับซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดรวมกัน รวมถึงยาสมุนไพรที่นำมาดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ยาลูกกลอน ยาแคปซูล ยาตอกเม็ด เป็นต้น ในการเลือกซื้อยาสมุนไพรจึงต้องมีข้อสังเกตดังนี้
           1. ดูว่ามีทะเบียนยาถูกต้องหรือไม่ ยาสมุนไพรส่วนใหญ่จัดอยู่ในหมวดยาแผนโบราณ
           2. ดูวันผลิตยา และ วันหมดอายุ ไม่ควรซื้อยาที่หมดอายุ เพราะตัวยาอาจเสื่อมสภาพ
           3. ดูลักษณะภายนอก เช่น สี กลิ่น รส ว่าเปลี่ยนแปลง หรือ ผิดปกติหรือไม่ ถ้าผิดปกติไม่ควรซื้อ
           4. ดูว่ามีราขึ้นหรือไม่ ถ้ามีไม่ควรซื้อ
           5. ดูภาชนะบรรจุว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ ถ้าภาชนะชำรุดไม่ควรซื้อ
           6. ดูแหล่งผลิตยาว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ในฉลากยาจะต้องระบุสถานที่ผลิตยาอย่างชัดเจน
           7. ดูว่ามีสัญลักษณ์ " คุณภาพสมุนไพรไทย " ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่ามีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีลักษณะดังนี้
                                     

 

      
       mail to : Web master