โลกสมุนไพร   โรคกระดูกพรุน   โรคปวดหลัง   โรคปวดเข่า   โรคเกาท์

    

           เกาท์   เป็นโรคที่มีกลุ่มอาการความผิดปกติ   ที่เกิดขึ้นจากการสะสมหรือตกผลึก
ของผลึกยูเรต โดยที่ความผิดปกติ หรืออาการก็จะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง หรืออวัยวะนั้นๆ
โดยที่ลักษณะอาการเด่นที่พบบ่อย และรู้จักกันดี คือข้ออักเสบ นอกจากนั้น ก็ยังอาจ
มีความผิดปกติที่ไต หรือมีการสะสมของผลึกยูเรตตามผิวหนัง หรืออวัยวะต่างๆ
        Hyperuricemia เป็นภาวะที่มีกรดยูริกสูงผิดปกติในเลือด ซึ่งภาวะนี้อาจจะแสดง
อาการหรือไม่ก็ได้ โดยการที่ภาวะนี้จะส่งผลให้เกิดการสะสมของผลึกตามอวัยวะต่างๆ
โดยที่ในบางรายจะไม่มีอาการใดๆเลยเป็นเวลานาน
        เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาท์ อาจไม่มีภาวะ hyperuricemia ก็ได้
และในทางกลับกัน ผู้ป่วย hyperuricemia ก็ไม่ได้เป็น gout ทุกราย
        โดยทั่วไปจะถือว่ามีภาวะ hyperuricemia ก็เมื่อระดับกรดยูริคในเลือดมีค่า
สูงเกินกว่า 7 มก/ดล ในผู้ชาย และ 6 มก/ดล ในผู้หญิง

 

  ที่มาของกรดยูริค
         1. จากการสร้างภายในร่างกาย   โดยมาจากการสลายตัวของ nucleic acid
         2. จากภายนอกร่างกาย   โดยได้จากการรับประทานอาหารที่มี purine เป็น
ส่วนประกอบ แต่โดยรวมแล้วจะมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับการสร้างภายใน
ร่างกาย เพราะฉะนั้น การงดหรือจำกัดอาหารจึงลดระดับกรดยูริกในเลือดได้ไม่มาก

  อาการของโรคเกาท์
       
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงดังนี้
               1. ช่วงที่มีอาการอักเสบของข้อ
                       โดยทั่วไปพบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และในเพศชาย
                        จะพบบ่อยในช่วงอายุ 40-60 ปี ส่วนเพศหญิงพบในช่วงอายุ 60-80 ปี
                        ลักษณะของการปวดข้อมักเป็นที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้า แต่อาจพบได้ที่
                        ข้อเท้า และ ข้อเข่า ส่วนข้ออื่นๆพบได้น้อย มือาการ ปวด บวม แดง ร้อน
                        และอาจพบเป็นก้อนที่เรียกว่า tophi
                2. ช่วงที่โรคสงบ
                       เป็นช่วงที่หายจากอาการข้ออักเสบจนมีอาการครั้งต่อไป ๙ึ่งพบว่า
                       ร้อยละ 62 มีอาการอักเสบอีกภายใน 1 ปี และร้อยละ 78 ภายใน 2 ปี
                3. ช่วงที่เป็นก้อน( tophi)
                       เป็นช่วงหลังของโรค โดยจะพบก้อนอยู่ตามร่างกายตามส่วนต่างๆ
                       ที่พบบ่อยได้แก่ นิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อศอก ใบหู มักพบในผู้ที่ไม่ได้
                       รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

  การรักษาโรคเกาท์
                1. ในช่วงที่มีภาวะข้ออักเสบ
                       1.1 ใช้ยาเพื่อลดอาการอักเสบ เช่น NSAID , Colchicine ,Steroid
                              แต่ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่อันตราย การใช้ยาควรปรึกษาแพทย์
                       1.2  การกำจัดเหตุกระตุ้น เช่นการติดเชื้อ ความเครียด
                2. ในช่วงที่โรคสงบ
                       2.1 ให้ยาเพื่อลดกรดยูริค และยาป้องกันการอักเสบของข้อ
                       2.2 ควบคุมโรคร่วมอย่างอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
                       2.3 หลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานแล้วมีอาการ เช่น เครื่องในสัตว์
                              สัตว์ปีก ชะอม กระถิน กะปิ ( ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการ
                              จากอาหารไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องใช้การสังเกตุเอาเอง)

      
       mail to : Web master