Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

วิแพ่ง ภาค 4 มาตรา 253-323 มีมาตราที่ขีดเส้นใต้เป็นมาตราที่สำคัญ
260,
264,271,274,275,276,278,280,284,285,286,287,288,289,290,292,293,295,295ทวิ,296
มาตรา 271-276
1. 271
บังคับคดี ต้องทำภายใน 10 ปี โดยต้อง
    1) ขอออกหมายบังคับคดี
   2) แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าออกหมายแล้ว
   3) แถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึด
2. 272-273 คำบังคับตาม 272 เป็นไปโดยผลของกฎหมาย
3. 275-276 หมายบังคับคดี
4. 274 การทำสัญญาประกันในศาล มีผลใช้บังคับทันทีไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำฯ ใหม่
มาตรา 287,288,289,290
    1)288
ทรัพย์ต้องเป็นของคนอื่น ไม่ใช่ของจำเลย (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) เป็นคดีมีทุนทรัพย์
     2)ทรัพย์เป็นของจำเลยร่วมกับคนอื่นหรือเป็นของจำเลยแต่มีบุคคลอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์นั้น
         -287 เช่น กรรมสิทธิ์ร่วม, สินสมรส, หนี้มีบุริมสิทธิ์หรือจำนองที่หนี้ยังไม่ถึงกำหนดเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
         -289 หนี้มีบุริมสิทธิ์หรือจำนองที่หนี้ถึงกำหนด, เป็นคดีมีทุนทรัพย์
     3)ทรัพย์เป็นของจำเลยทั้งหมด แต่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นมาขอเฉลี่ย
            -จะมีการยึดหรืออายัดซ้ำ ยึดหรืออายัดจริงไม่ได้
            -เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
            -ต้องอยู่ภายใต้ 271
            -290 ว2 ดูที่จำเลยเฉพาะที่ถูกยึด หรืออายัดเท่านั้น
            -290 ว3 ดูเป็นคราว ๆ ไป นับแต่วันสิ้นสุดการขายแต่ละครั้ง
การหยุดการบังคับคดี
    1.การงดการบังคับคดี 292,293
    2.การถอนการบังคับคดี 295
    3.การเพิกถอนการบังคับคดี 296,309 ทวิวรรคสอง

มาตรา 271

    ผู้มีสิทธิขอบังคับคดี
    คือผู้ชนะคดี หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งอาจเป็นโจทก์, จำเลย, ผู้ร้องสอด, ผู้ร้องขัดทรัพย์, ผู้ได้สิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
    ดังนั้นถ้าไม่ใช่ผู้ชนะคดี ย่อมไม่มีสิทธิขอบังคับคดีได้ เช่น
        1.กรณีที่ไม่มีผู้ชนะคดี เนื่องจาก ศาลพิพากษายกฟ้อง และค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ
        2.ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการประนีประนอมยอมความ ซึ่งตนไม่ใช่คู่ความ
            (แต่โจทก์, จำเลยเดิมยังมีสิทธิ์ขอบังคับคดีได้)
        3.บุคคลภายนอกคดี
ยกเว้นกรณีของทายาท หรือผู้จัดการมรดก เพราะการบังคับคดีเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท

    ผู้ถูกบังคับคดี
   
คือผู้ที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา
3275/2538 ในกรณีขับไล่จำเลย ถ้ามีบริวาร ย่อมบังคับรวมถึงบริวารของจำเลยด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษ (142(1),276)
    ขั้นตอนการขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา    
    1.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตาม ม.275
    2.ต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว ม.276
    3.ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ม.278
    กำหนดเวลาในการบังคับคดี ใช้มาตรา 146
    -การชำระมิได้ทำให้อายุการบังคับคดีขยายออกไป เพราะ ม.271 ไม่ใช่เรื่องอายุความฟ้องคดี เพราะเป็นเรื่องปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีไปแล้วก็บังคับคดีอีกไม่ได้ 
        แม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะทำสัญญายอมให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดทรัพย์สินได้อีกก็ตาม
    -เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี ถ้าการบังคับคดียังไม่เสร็จก็มีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แม้จะเกิน 10 ปี ฎีกา 696/18
    การบังคับคดีตามลำดับ
    ถ้าคำพิพากษาของศาลมีหลายอย่าง และต้องดำเนินการบังคับก่อนหลังตามลำดับ ผู้ถูกบังคับจะเลือกปฏิบัติไม่ได้ โดยต้องบังคับคดีไปตามลำดับที่ศาลกำหนดเท่านั้น เพราะการบังคับคดีจะกระทำนอกเหนือหรือผิดไป
    1087/2542 ดังนั้นถ้าการบังคับคดีไม่เป็นไปตามลำดับที่ศาลกำหนดไว้
    1.ศาลต้องเพิกถอน โดยอาศัยมาตรา 27 เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ
    2.เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบตามมาตรา 142(5)

มาตรา 287

    การบังคับคดีย่อมไม่กระทบถึงสิทธิ์ของบุคคลภายนอก
    ตาม 287 บุคคลภายนอกมี 2 ประเภท คือ
        1.ผู้ทรงบุริมสิทธิ์ ที่อาจร้องให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเช่น 
            - ผู้รับจำนอง
            -ผู้มีสิทธิ์อื่น ๆ ที่สามารถเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ์ เช่น สิทธิ์ของเจ้าของรวม และสิทธิ์ของบุคคลระหว่างสามีภรรยา ยกเว้นการเป็นหนี้ร่วม ใช้ 287 ไม่ได้
        2. ผู้มีสิทธิ์อื่น ๆ ที่อาจร้องให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเช่น 
            - สิทธิ์ของผู้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ตามมาตรา 1300 ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งก่อนและหลังมีการยึดทรัพย์
            - สิทธิ์จำนำ
            - สิทธิ์ยึดหน่วง
    กรณีที่ไม่ใช่สิทธิ์อื่น ๆ เช่น สิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย สิทธิ์หักบัญชีเงินฝากของธนาคาร
    กำหนดระยะเวลาในการขอ 287 ไม่มีกำหนดเวลาใน

มาตรา 288 การร้องขัดทรัพย์
   
ประเด็นสำคัญในการพิจารณาเกี่ยวกับการร้องขัดทรัพย์ คือ
    ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดหรือไม่ แต่ไม่จำเป็นที่ผู้ที่ร้องขัดทรัพย์นั้นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
    268/2511 ถ้าขอปล่อยทรัพย์บางส่วน แต่ได้ความว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยทั้งหมด ดังนี้ศาลย่อมปล่อยทรัพย์ทั้งแปลงได้ ไม่ถือว่าเกินคำขอ

    ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการขอร้องขัดทรัพย์ เนื่องจากลูกหนี้ตามคำพิพากษายังคงเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นอยู่
        

1.เจ้าของรวม

2.หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน ตาม 1050

3.ผู้จำนำ

4.ผู้มีสิทธิ์ในสัญญาจะซื้อจะขาย

5.เจ้าของทรัพย์ที่เป็นส่วนควบ

    ศาลที่จะพิจารณาคำร้องขัดทรัพย์ คือศาลที่ออกหมายบังคับคดี ได้แก่ ศาลชั้นต้นที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ตามมาตรา 302

-ยื่นในคดีเดิมที่โจทก์จำเลยเป็นความกัน เพราะถือว่าเป็นสาขาของคดีเดิม

-ศาลที่ออกหมายบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นร้องขัดทรัพย์ แม้จะเป็นศาลแขวงและแม้ราคาทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์นั้นจะเกินกว่าอำนาจของศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ฎีกาที่ 901/11 ฎีกาที่ 125/26

    กำหนดเวลาในการร้องขัดทรัพย์ คือก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด

-การขายทอดตลาด คือ การขายที่สมบูรณ์และศาลมีคำสั่งให้ทราบแล้ว หากมีการขายทอดตลาดแต่ถึงวันขายทอดตลาดไม่มีการขายและได้เลื่อนการขายทอดตลาดไป กรณีนี้ถือว่าไม่มีการขายทอดตลาดแต่อย่างใด ฉะนั้นจึงมาร้องขัดทรัพย์ก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดในครั้งใหม่ได้ ฎีกาที่ 3030/28

-มาตรา 288 จะยื่นในวันขายทอดตลาดก็ได้ (แต่ต้องก่อนเอาทรัพย์นั้นขายทอดตลาด)

มาตรา 289 การขอรับชำระหนี้จำนอง หรือบุริมสิทธิ์

    ผู้มีสิทธิ์ขอรับชำระหนี้จำนอง หรือบุริมสิทธิ์
        1.ผู้รับจำนอง
            โดยหนี้จำนองนั้นต้องถึงกำหนดชำระแล้ว แต่ถ้าหนี้จำนองยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ขอ 289 ไม่ได้ แต่ไม่ทำให้สิทธิจำนองหรือบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นหมดไป คือได้รับความคุ้มครองตาม 287
        2.ผู้ทรงบุริมสิทธิ์
            4740/2538 ผู้มีสิทธิ์ตาม 289 ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็สามารถใช้สิทธิ์ตาม 289 ได้
            ศาลที่จะพิจารณาคำร้อง 289 คือศาลที่ออกหมายบังคับคดี ได้แก่ ศาลชั้นต้นที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ตามมาตรา 302

มาตรา 290
   
ทรัพย์เป็นของจำเลยทั้งหมด แต่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นมาขอเฉลี่ย
    -จะต้องปรากฎว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะยึดหรืออายัดเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มาขอเฉลี่ยนั้นได้อีก หรือแม้จะมีทรัพย์สินอื่นที่ยังไม่ถูกยึดหรืออายัดอีก แต่ถ้าทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ถูกยึดหรืออายัดนั้นไม่เพียงพอแก่การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นนั้นก็มาขอเฉลี่ยได้
    ผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
        -เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (ศาลต้องพิพากษาแล้วเท่านั้น ฎ.118/2501 โดยคดีจะถึงที่สุดหรือไม่ จะมีการออกคำบังคับ หรือมีการออกหมายบังคับคดีแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ
การยึดหรืออายัดต้องเป็นการยึดหรืออายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น
        -การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานอื่นซึ่งไม่ใช่การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็ไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดหรืออายัดทรัพย์นั้นซ้ำอีกตามมาตรา 290 (พนักงานอื่น เช่น อธิบดีกรมสรรพากร)
(1)จะมีการยึดหรืออายัดซ้ำ ยึดหรืออายัดจริงไม่ได้
        -กรณีการยึดหรืออายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามมาตรา 254 ไม่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตามมาตรา 290 คือมิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตามมาตรา 290 (มาตรา 259 ไม่รวมถึงมาตรา 290 ด้วย) ฎ.6093/34 ฎ.952/41
        -ในกรณียึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ต้องยื่นก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น
        -ในกรณีอายัดทรัพย์สินต้องยื่นก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันชำระหรือส่งมอบทรัพย์สินที่อายัดไว้
        -ในกรณียึดเงิน ต้องยื่นก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันยึด
การหยุดการบังคับคดี
    1.
การงดการบังคับคดี 292,293
        -คือการรอการบังคับคดีไว้ชั่วคราว ซึ่งขอได้เฉพาะการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำ แม้แต่ยังไม่ได้ออกหมายบังคัยคดีก็สามารถงดการบังคับคดีได้
        -ถ้ามีการบังคับคดีบางส่วนแล้ว จะของดการบังคับคดีได้ในส่วนการกระทำต่อไป ส่วนการบังคับคดีที่กระทำไปแล้วจะงดไม่ได้ การบังคับคดีที่กระทำมาแล้วยังคง มีผลอยู่ต่อไป
                1)292     (1) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอพิจารณาคดีใหม่
                            (2) ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดี
                            (3) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของด
                            (4) เจ้าหนี้ไม่ชำระเงินในการวางเงินบังคับคดี
                2)293 ลูกหนี้ของดการบังคับคดี
                            (1) ต้องฟ้องเป็นคดีที่สามารถนำวัตถุแห่งหนี้มาหักกลบลบหนี้กันได้
                            (2) คดีที่ฟ้องนั้นต้องเป็นเรื่องอื่น ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
                            (3) ต้องเป็นหนี้ที่หักกลบลบหนี้กันได้ โดยต้องมีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน
                            (4) ทรัพย์ถูกยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้งดการบังคับคดีเท่านั้น
                            (5)คดีที่ขอให้งดการบังคับคดีนั้นต้องปรากฎว่าการบังคับคดีนั้นจะต้องมีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่น
    2.การถอนการบังคับคดี 295
        1)ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาล หรือหาประกัน
        2)เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าสละสิทธิในการบังคับคดี
        3)คำพิพากษาถูกกลับ หรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก
        4)เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี (290 ว8)
การเพิกถอนบังคับคดี 296
   
1)คำบังคับ หมายบังคับคดี หรือคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
    2)การเพิกถอนต้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้นลง
        (1)ศาลเห็นสมควร
        (2)เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาล
        (3)เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ
        (3)ระยะเวลา ก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่รู้ และต้องไม่ทำอะไรเพิ่ม หรือให้สัตยาบัน
       (4)การบังคับคดีเสร็จสิ้นลง 
            1) ส่งมอบทรัพย์ กระทำการ งดกระทำการ ที่แยกเป็นส่วน ๆ
            2) ขายทรัพย์หลายอย่าง
        ส่วนที่ได้ทำแล้วถือว่าเป็นการบังคับคดีเสร็จสิ้นลง

กลับไปที่หน้าเดิม