Life-long learning
ศึกษาสู่อนาคตต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life - long learning = L )
your picture here
กรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้โรงเรียนเป็น"โรงเรียนสามประโยชน์" และผลักด้นให้เกิดศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนาคตในรูปแบบหลากหลาย (นอกเหนือจากในห้องเรียน) เช่นห้องสมุด ศูนย์การเรียนของชุมชน หรือสถานอื่นใดที่พลเมืองของกรุงเทพมหานครมีโอกาสที่จะใช้ค้นคว้าและพัฒนาการเรียนรู้ รวมทั้งทักษะในด้านภาษา การสื่อสาร และการรู้หนังสือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมเมืองที่สมบูรณ์แบบ และพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยครอบครัว ชุมชน นักธุรกิจ ร่วมเป็นคู่สัญญาในการสนับสนุนด้านการศึกษาและการฝึกอบรมที่จำเป็นแก่สังคม
ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป้าหมาย : ศึกษาสู่อนาคตต่อเนื่องตลอดชีวิต
1. ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
เกณฑ์ระดับคุณภาพ
ระดับสูง
- ชมรมครู ผู้ปกครองเข้มแข็ง มีบทบาทในการให้ข้อคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา สมาชิกเข้ามาโดยสมัครใจ กรรมการชมรมเป็นคนคุณภาพที่มาจากการเลือกตั้ง
- มีการประชุมชมรมครู ผู้ปกครองสม่ำเสมอ และมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่าร้อยละ 80
- มีการประชาสัมพันธกิจกรรมและความก้าวหน้าของโรงเรียนสู่ชุมชนเป็นประจำ
- มีการเชิญวิทยากร หรือนำแหล่งความรู้ชุมชนมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
ระดับปานกลาง
- ผู้ปกครองมีบทบาทในการให้ข้อคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสถานทุกครั้งที่เชิญชวน
- มีการประชุมชมรมครู ผู้ปกครองปีละ 2 ครั้ง
ระดับต้องปรับปรุง
- ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อย





2. จัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น
เกณฑ์ระดับคุณภาพ
ระดับสูง
- มีหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ
- มีการศึกษาสภาพความต้องการของชุมชน สังคม พ่อแม่ ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนการเรียนการสอน
- มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร
- ผู้เรียนมากกว่าร้อยละ 70 เห็นว่าได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ
ระดับปานกลาง
- มีหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
- ไม่มีหลักฐานการศึกษาสภาพความต้องการของชุมชน ในการจัดทำหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน
- มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตร
- ผู้เรียนมากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่าได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ
ระดับต้องปรับปรุง
- ไม่มีหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
- ไม่มีการศึกษาสภาพความต้องการของชุมชน ในการจัดทำหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน
- รูปแบบการเรียนการสอนไม่นำไปสู่วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผู้เรียนน้อยกว่าร้อยละ 50 เห็นว่าได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ
3. ชุมชน ผู้ปกครองมีศักยภาพในการสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษา
เกณฑ์ระดับคุณภาพ
ระดับสูง
- ผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่าให้ความช่วยเหลือและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยเสนอแนะข้อคิดเห็นนอกเหนือจากนโยบายพิเศษ หรือกิจกรรมประจำปี
- ผู้บริหารดำเนินกลยุทธกระตุ้นเชิญชวนผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- สถานศึกษาเป็นโรงเรียนสามประโยชน์ที่สมบูรณ์แบบ ผู้ปกครอง ชุมชน รู้สึกเป็นเจ้าของ ภูมิใจ และมีบทบาทในการช่วยเหลือ
- สถานศึกษายินดีรับฟังผู้ปกครองที่ต้องการร้องทุกข์หรือมีข้อเสนอแนะ และนำไปพิจารณา
ระดับปานกลาง
- ผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่าให้ความช่วยเหลือและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยเสนอแนะข้อคิดเห็นนอกเหนือจากนโยบายพิเศษ หรือกิจกรรมประจำปี
- ผู้บริหารดำเนินกลยุทธกระตุ้นเชิญชวนผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- สถานศึกษาเป็นโรงเรียนสามประโยชน์ในบางด้าน
ระดับต้องปรับปรุง
- ผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่าให้ความช่วยเหลือและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเป็นครั้งคราว

powered by lycos
SEARCH: Tripod The Web