study-2

      เ ชิ ญ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ น ส มุ ด เ ยี่ ย ม  ค ลิ๊ ก ที่ นี่ !

  บ้านพักแรงงานเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)

               ตั้งอยู่เลขที่ 344 ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ถ.รอบเมือง ปทุมวัน กทม. 10330....เป็นการพัฒนารูปแบบการทำงานให้ความคุ้มครอง แก่เด็กก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน และเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ได้รับความร่วมมือจากนายจ้าง ตลอดจนปัญหาการกระจายตัวและการหมุนเวียนเข้าออกของแรงงานเด็ก
กิ จ ก ร ร ม
1. ให้ที่พักชั่วคราวแก่เด็กที่เข้ามาหางานทำ ระหว่างรองานใหม่ และแรงงานเด็กที่ประสบปัญหาจากการทำงาน ซึ่งไม่มีที่พักอาศัย
2. แนะแนวด้านอาชีพ เพื่อให้เด็กได้ทำงานที่เหมาะสมกับช่วงวัยและสภาพร่างกายจิตใจของเด็ก
3. ติดตามให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็กที่ประสบปัญหาจากการทำงานและปัญหาอื่น ๆ โดยมีแนวความคิดให้บ้านพักแรงงานเด็กเป็นเสมือนบ้านที่สองของเด็ก
4. โครงการเล่น (Play Project) แนวคิดจากสิทธิเด็ก ให้เด็กได้คิดการเล่น หลังจากเลิกเรียน เพราะเชื่อมั่นว่าเด็กจะเกิดการพัฒนาทั้งร่างกายและความคิดสร้างสรรค์
จะทำกิจกรรมนี้กับเด็กในชุมชนและเด็กที่ขายพวงมาลัยที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
- บ้านพักแรงงานเด็กจะรับเด็กหญิงไม่เกิน 18 ปี และเด็กชายอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นบ้านพักชั่วคราว
ก า ร แ ล ก เ ป ลี่ ย น ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์
1. การส่งแรงงานเด็กต่างชาติกลับประเทศ ส่วนใหญ่ประสานกับทาง NGOs ในพื้นที่ และต้องมั่นใจจริง ๆ ว่าเด็กมีผู้ดูแลและปลอดภัย
2. การประสานงานกับชุมชน บ้านพักแรงงานเด็กจะตั้งอยู่ติดชุมชนแออัด ซึ่งจะมีการช่วยเหลือกับชุมชนด้วย ทำให้ชุมชนเข้าใจและให้ความช่วยเหลือองค์กร
3. การช่วยเหลือแรงงานเด็กจากผู้ประกอบการ จะมีการดำเนินงานทางด้านกฎหมายเพื่อเรียกร้องเงิน

  บ้านสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

                100/475 ซ.แจ้งวัฒนะ 10 แขวงทุ่งสองห้อง เขตดอนเมือง กทม. 10210...บ้านสร้างสรรค์เด็ก เป็นบ้านพักสำหรับเด็กเร่ร่อนที่อยู่ห่างออกไปนอกตัวเมือง มีพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติ ใกล้ลำน้ำ และมีพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้ เด็กเร่ร่อนสามารถเดินเข้าออกเพื่อมาใช้บริการและพักอาศัย ซึ่งมีทั้งเด็กที่พักอยู่ประจำและเรียนหนังสือ และเด็กที่เข้า - ออก มาทำกิจกรรมในบ้าน และส่งเสริมให้เด็กเร่ร่อนที่เป็นรุ่นพี่ได้มาช่วยจัดกิจกรรมกับน้อง ๆ...ปัจจุบันมีเด็กในบ้านพักจำนวน 31 คน เด็กที่เรียนหนังสือ 25 คน ทั้งในโรงเรียนและ กศน. รับเฉพาะเด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิงจะส่งไปที่บ้านอุปถัมภ์
กิ จ ก ร ร ม
1. การทำการเกษตร ปลูกผัก เพาะเห็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด,ไก่ โดยมุ่งเน้นเพื่อเป็นการลดค่าอาหารสำหรับเด็กในบ้านพัก เนื่องจากต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก
2. ส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียน มีหลายระดับ ตั้งแต่ประถมจนถึง ปวส.
3. การให้เด็กมีส่วนร่วมในการก่อสร้างบ้าน
ปั ญ ห า
1. เด็กผู้หญิงที่โตไม่มีองค์กรไหนรองรับ
2. ปัญหายาเสพติดก็มีบ้างเช่น กาว แต่รุนแรงกว่านี้ไม่พบ ถ้าหากพบเด็กที่เข้ามาใหม่และดมกาวก็จะไม่ด่าว่าอะไร แต่ก็จะให้ครูและผู้ช่วยครูไปประกบพูดคุยด้วยว่าเป็นเพราะอะไรถึงดมกาว
3. บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็ท้อแท้กับงาน ก็จะใช้วิธีการพากันไปดูงาน ไปแลกเปลี่ยนกับองค์กรอื่น และให้กำลังใจซึ่งกันและกันก็เป็นสิ่งสำคัญ

ก า ร แ ล ก เ ป ลี่ ย น ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์
1. เรื่องยาเสพติดกับเด็กเร่ร่อนที่นี่ ส่วนใหญ่จะพบเฉพาะกาว แต่ที่แรงกว่านี้จะพบกับเด็กเร่ร่อนที่ขายบริการทางเพศที่พัฒน์พงษ์ ซึ่งแตกต่างกว่าเด็กที่เชียงใหม่จะพบว่าใช้ยาเสพติดเกือบทุกชนิด
2. เกี่ยวกับการสร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติมีแม่น้ำให้เด็กเล่น จะช่วยบำบัดเด็กได้เป็นอย่างมาก
3. เกี่ยวกับเด็กโตที่พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ช่วยครู จะเลือกโดยมองเด็กที่ชอบมีส่วนร่วมกับการช่วยงาน ก็จะเริ่มให้ลงพื้นที่ไปพร้อมกับครูและครูจะสอนไปเรื่อย ๆ แต่ก็มีปัญหาเยอะเหมือนกันกว่าที่จะพัฒนาเขาขึ้นมาได้ บทเรียนอย่างหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของเด็กด้วย ถ้าเขาอายุเกิน 20 ปีก็จะเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
4. เกี่ยวกับการส่งต่อเด็ก ส่วนมากเราจะไม่ส่งเด็กที่มีปัญหาหนักไปยังองค์กรอื่น แต่จะพยายามเอาเด็กไว้เพื่อปรับปรุง หากส่งไปให้ที่อื่นก็จะเป็นปัญหากับเขาอีก
- ข้ อ สั ง เ ก ต จากการดูงานที่บ้านสร้าง พบว่า ค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับการทำงานของกลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมของเด็กและแนวการช่วยเหลือ ซึ่งทำให้เราได้มุมมองที่สอดคล้องกันและเทคนิควิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

  ภาพรวม

1. แต่ละองค์กรจะรับเด็กที่ประสบปัญหาเข้ามาฟื้นฟูและพัฒนาในบ้านพัก ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเด็กที่แตกต่างกัน
2. เกี่ยวกับแนวคิดขององค์กรต่าง ๆ ค่อนข้างที่จะคล้าย ๆ กัน คือเชื่อมั่นในตัวเด็กว่าจะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีของสังคมได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลาสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับแต่ละคน  การให้สิทธิและเสรีภาพของเด็กโดยให้เด็กคำนึงถึงสิทธิของผู้อื่นด้วยเช่นกัน
3. กิจกรรมที่บ้านพักค่อนข้างจะหลากหลายและต่อเนื่องในแต่ละวัน เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
4. แนวคิดและกิจกรรมขององค์กรต่าง ๆ ที่ได้ไปศึกษาดูงานจะใกล้เคียงกับกลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก

   การนำแนวคิดและมาปรับใช้กับงานบ้านพักของกลุ่มอาสา

          1. จากการศึกษาดูงานในแต่ละวัน ทางทีมงานจะมีการสรุปบทเรียนของแต่ละองค์กรที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมถึงข้อเด่น ข้อด้อย และเชื่อมโยงถึงงานบ้านพักของกลุ่มอาสาที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันว่ามีจุดอ่อนอย่างไรบ้าง ซึ่งเราก็พบหลายประการ เช่น กิจกรรมที่บ้านกลุ่มอาสายังมีไม่ต่อเนื่องเท่าไหร่  และสถานที่ของกลุ่มเรายังไม่เอื้อต่อการบำบัดพฤติกรรมเด็ก  ความรับผิดชอบของอาสาสมัครที่มาอยู่เวรดูแลเด็กในแต่ละวันว่ายังขาดความรับผิดชอบและไม่รู้หน้าที่ว่าต้องทำอะไรบ้าง หรือบางครั้งก็ไม่มาอยู่เวร 
            2. แนวคิดของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ใช้กับเด็ก บางครั้งยังไม่สอดคล้องไปในทางเดียวกันจึงทำให้บางครั้งดูเหมือนว่าต่างคนต่างทำคนละแนว เด็กจึงได้รับการปฏิบัติจากครูและอาสาที่ต่างกันไปด้วย  หลังจากกลับมาเรามีการประชุมพูดคุยเพื่อปรับแนวคิดกันอย่างจริงจัง
            3. มีการประชุมหลังจากที่กลับจากการดูงานในกลุ่มครูและอาสา เพื่อวางแผนปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลและพัฒนาเด็กในบ้านพัก โดยกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ชัดเจนมากขึ้นในแต่ละวัน

 กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก 127/8 ม.2 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.แฟ็กซ์ (053) 213192

Email Addess :  VGCD36@hotmail.com

[VGCD] [Who are VGCD] [Activities] [Help] [Staff] [Child] [story] [English]

L i n k ไป หา พันธมิตร

กลุ่มกระจกเงา

สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน

มูลนิธิเด็ก