study-1

      เ ชิ ญ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ น ส มุ ด เ ยี่ ย ม  ค ลิ๊ ก ที่ นี่ !

" จากการไปทัศนศึกษาดูงานด้านเด็กกับองค์กรต่าง ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่และอาสาของกลุ่มเราได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางมากขึ้นในการเรียนรู้กับการทำงานด้านเด็กขององค์กรต่าง ๆ เช่น เด็กกำพร้า แรงงานเด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกล่วงละเมิดสิทธิ ฯลฯ ซึ่งแต่ละแห่งมีจุดเด่นของการทำงานที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะด้านความแนวคิดและวิธีการอันเป็นลักษณะเฉพาะขององค์กรนั้น ๆ "

  บ้านอุ่นรักมูลนิธินวมนุษยธรรม

              ตั้งอยู่ที่ 36 ม.3 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240 เป็นบ้านที่ให้การดูแลเด็กกำพร้าและเด็กที่ถูกทอดทิ้งในท้องถิ่น อายุ 2-16 ปี รวมถึงสตรีและเด็กที่ประสบกับโรคร้ายและความยากจน สตรีบางคนได้พยายามขายลูกของตนไปเป็นหญิงขายบริการ ... จำนวนเด็กที่อยู่ในบ้านพัก 35 คน
ห ลั ก เ ก ณ ฑ์ ก า ร รั บ เ ด็ ก
1. ไม่มีพ่อแม่ มีหลักฐานหรือไม่ก็ได้
2. ถ้าเด็กมีพ่อแม่แต่ฐานะยากจน จะสนับสนุนพ่อแม่ให้มีอาชีพ
3. เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
4. เด็กที่ติดเชื้อ HIV/AIDS
กิ จ ก ร ร ม เ ด็ ก ใ น บ้ า น พั ก
1. ตื่นนอนตอนตี 5 ทำโยคะ 1 ชั่วโมง
2. เด็กโตจะช่วยกันทำอาหาร
3. ส่งเด็กไปเรียนในโรงเรียนของรัฐ
4. เด็กโตที่อยู่ในบ้านจะให้เรียน กศน. สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเรียนภาษาอังกฤษ
5. สอนวิชาชีพ คือ ทำอาหาร ทำขนม เย็บผ้า ทอผ้า ผ้าที่เย็บเสร็จแล้วจะนำไปขายที่กรุงเทพฯ กำไรที่ได้จะเป็นค่าตอบแทนเด็กเล็กน้อยและเป็นทุนในการทำต่อ การทอผ้าจะมีผู้ใหญ่ (พ่อแม่ของเด็ก) ทำประจำอยู่แล้ว ส่วนเด็กจะให้ฝึกทำ
6. การเกษตรเพื่อเป็นอาหารสำหรับเด็กในบ้านพัก
7. โรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กยากจน ที่มีรูปแบบการสอนแบบสัมมนาและฝึกอบรมแนวใหม่เกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อความพึงพอใจของเด็กให้แก่ครูในท้องถิ่น
ก า ร บ ำ บ ัด จิ ต
1. การฝึกโยคะ สมาธิ ให้กับเด็ก
2. การให้เด็กกินเจ เพราะมีความเชื่อว่าเนื้อสัตว์จะมีสารพิษตกค้างในร่างกาย
จุดสำคัญที่เป็นแนวทางการพัฒนาเด็ก
- การฝึกให้เด็กทำสมาธิ ฝึกโยคะ และกินเจ จะทำให้เด็กมีสมองที่ดี
ปั ญ ห า ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใ น บ้ า น
(1) พวกพี่ ๆ ไม่ชอบให้น้องเสียงดัง
(2) เกี่ยวกับการสื่อสารกับเด็กในช่วงแรก เพราะอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่เป็นคนต่างชาติ
มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์เด็กที่ในชุมชนรอบข้างว่ามีปัญหาการตกเขียวเด็กผู้หญิงบ้างหรือไม่ อาสาสมัครที่นั่นบอกว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ แต่จะมีเฉพาะความยากจนมากกว่า จึงทำให้เราตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวัฒนธรรมและค่านิยมของภาคเหนือกับที่นี่ว่าทำไมแตกต่างกัน
 

  โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก

              ตั้งอยู่ที่ ถนนลาดหญ้า-ศรีสวัสดิ์ ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจบุรี 71170...โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก แ บ่ ง ก า ร จั ด ร ะ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า เ ป็ น 2 แ น ว
1. หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับชั้นประถม 1 ถึง 6 จากนั้นเรียนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และทำการฝึกอาชีพให้เด็กไปพร้อม ๆ กัน
2. การศึกษาทางเลือก (Alternative Education) โรงเรียนรู้และแสวงหาผ่านศาสนาหลัก ๆ ของโลกและสำนักคิดต่าง ๆ ทั้งด้านปรัชญา จิตวิทยา และการศึกษาเพื่อค้นหาความหมายของโลกและชีวิต และจัดการเรียนรู้ การเลี้ยงดู
เน้นนักเรียนค้นหาตัวของเขาเอง จนสามารถมีความเห็นตัวเองไปพร้อม ๆ กับที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยให้เสรีภาพในการคิดและการแสดงออกไปพร้อม ๆ กับการฝึกให้เขาปกครองตนเองภายใต้บรรยากาศของความรักและการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
เ ด็ ก ม า จ า ก ไ ห น ?
- เด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยก เด็กเร่ร่อน  เด็กกำพร้า และเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกกระทำทารุณทางร่างกาย ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง
ก า ร บ ำ บั ด จิ ต
- การเรียนการสอนและวิถีชีวิตในชุมชนให้มีความสอดคล้องและเอื้อต่อการเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำของพวกเขา ความสัมพันธ์ในชุมชนที่นี่จึงมีจุดเน้นอยู่ที่การให้ความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจแก่เด็ก ด้วยความรู้สึกเสมือนเป็นครอบครัวใหม่
กิ จ ก ร ร ม
1. การเรียน เริ่มจากเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเองทั้งภายในและภายนอก ชีวิตภายในคือการฝึกสติ ชีวิตภายนอกคือ เรื่องราวต่าง ๆ ตั้งแต่ร่างกายของตนเองไปสู่เรื่องราวของชุมชน จากชุมชนหมู่บ้านเด็ก ขยายออกไปสู่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ
2. การทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ด
3. สภาเด็ก ทำทุก ๆ วันศุกร์ โดยเด็กทุกคนจะมาพบกันในสภาและอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน
จ า ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์
จากได้พูดคุยกับครูใหญ่ในโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก คือ คุณรัชนี ธงไชย ที่เด็ก ๆ เรียกว่า "แม่แอ๋ว" ได้ช่วยให้ข้อคิดในการทำงานกับเด็กดังนี้
1. การทำงานกับเด็กต้องเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนเป็นคนดี แต่สังคมรอบข้างทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน จะทำให้อย่างไรที่จะให้เด็กกลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง คนทำงานต้องมีความเข้าใจ ให้ความรักกับเด็กอย่างแท้จริง
2. ขณะทำงานกับเด็กจะต้องมีสติเท่าทันอารมณ์ของตนเอง ถ้าหากทำโทษเด็กเราก็ต้องรู้ว่าเราไม่ได้ทำเพราะความโกรธ
3. คนทำงานต้องยืนเคียงข้างเด็กตลอดเวลา คอยให้กำลังใจเขา ให้เขารู้ว่าเราอยู่ข้างเขา
4. ส่งเสริมให้เด็กได้เห็นคุณค่าของตัวเอง
5. คนทำงานกับเด็กต้องมีแนวคิดที่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติกับเด็กไปไปในแนวเดียวกับด้วย
6. การทำงานกับเด็กต้องอ่านหนังสือและแสวงหาแนวคิดต่าง ๆ ทั้งต่างประเทศและทางพุทธศาสนาแล้วนำมาปรับใช้กับการทำงานกับเด็ก
 

 กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก 127/8 ม.2 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.แฟ็กซ์ (053) 213192

Email Addess :  VGCD36@hotmail.com

[VGCD] [Who are VGCD] [Activities] [Help] [Staff] [Child] [story] [English]

L i n k ไป หา พันธมิตร

กลุ่มกระจกเงา

สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน

มูลนิธิเด็ก