child-r2

      เ ชิ ญ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ น ส มุ ด เ ยี่ ย ม  ค ลิ๊ ก ที่ นี่ !

ใครจะเป็นผู้ที่ตรวจสอบว่าประเทศภาคีปฏิบัติตามมาตรฐานตามอนุสัญญาฯ หรือไม?

           รัฐบาลของประเทศที่ลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ จะต้องรายงานผลการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ ต่อคณะกรรมการสิทธิเด็ก ซึ่งจะต้องจัดทำรายงานสถานการณ์ของสิทธิเด็กในประเทศของตน ภายในสองปีหลังจากการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ และจะต้องทำเป็นระยะ ต่อจากนั้นทุก ๆ 5 ปี
           คณะกรรมการสิทธิเด็กประกอบด้วยสมาชิก 10 คนจากประเทศและระบบกฎหมายที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งเป็นผู้ที่มี จริยธรรมสูงและมีความชำนาญการในแขนงสิทธิเด็ก บุคคลเลห่านี้จะได้รับการเสนอชื่อและคัดเลือกโดยรัฐบาลของประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แต่จะทำหน้าที่คณะกรรมการในฐานะส่วนตัวมิใช่ในฐานะตัวแทนของประเทศ
          สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพึงระลึกถึงคือ อนุสัญญาฯ เน้นการปฏิบัติของรัฐบาลมากกว่าปัจเจกบุคคลในการประกันสิทธิของเด็ก คณะกรรมการสิทธิเด็กจะพิจารณาว่ารัฐบาลได้กำหนดและปฏิบัติตามมาตรฐาน เพื่อความอยู่ดีกินดีของเด็กและครอบครัวได้ดีมากน้อยแค่ไหน อย่างไร
           คณะกรรมการ มิได้ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของพ่อแม่ผู้ปกครองในฐานะปัจเจกบุคคล รวมทั้งไม่ได้มีหน้าที่รับข้อร้องเรียนจากพลเมือง รวมถึงเด็ก ๆ เกี่ยวกับพ่อแม่ ในฐานะปัจเจกบุคคลแต่อย่างใด

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กดึงความรับผิดชอบไปจากพ่อแม่และมอบอำนาจให้รัฐบาลมากขึ้นหรือไม่

            ในทางตรงกันข้าม อนุสัญญาฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อบทบาทของพ่อแม่และได้กล่าวถึงบทบาทของพ่อแม่อยู่ในระยะตลอดเอกสาร อนุสัญญาฯ กล่าวว่ารัฐบาลจะต้องเคารพความรับผิดชอบของพ่อแม่ในการแนะแนวทางที่เหมาะสมให้กับเด็ก รวมถึงการแนะแนวทางว่าเด็กควรจะใช้สิทธิของตนอย่างไร อนุสัญญาฯ กำหนดให้กับรัฐบาลมีความรับผิดชอบในการคุ้มครอง และช่วยเหลือครอบครัว ให้สามารถทำหน้าที่อันสำคัญยิ่งในฐานะผู้เลี้ยงดูเด็กได้อย่างเต็มที่

มาตรา 12 ของอนุสัญญากล่าวว่าเด็กมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นในทุก ๆ เรื่อง ที่มีผลกระทบต่อเด็ก ดังนั้นจึงหมายความว่าบัดนี้เด็กๆ สามารถบอกพ่อแม่ให้ทำอะไรก็ได้ ใช่หรือไม่

           ไม่ใช่  จุดประสงค์ของมาตรานี้คือการส่งเสริมให้ผู้ใหญ่รับฟังความคิดเห็นของเด็ก และพยายามให้เด็กเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจ ไม่ใช่ การให้เด็กมีอำนาจเหนือผู้ใหญ่ มาตราที่ 12 ไม่ได้ขัดขวางสิทธิและความรับผิดชอบของพ่อแม่ในการแสดงความคิดเห็น ของตนในเรื่องที่มีผลกระทบต่อลูกของตนแต่อย่างใด
           ในการส่งเสริมสิทธิของเด็กในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนนั้น อนุสัญญาฯ ยอมรับว่าการมีส่วนร่วมของเด็กจะต้องเหมาะสมสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็กนั้น ความสามารถของเด็กในการมีความคิดเห็นเป็นของตนเองจะพัฒนาตามอายุของเด็ก ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ย่อมี่จะให้น้ำหนักต่อความคิดเห็นของวัยรุ่นมากกว่าความคิดเห็นของเด็กก่อนวัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในเรื่องครอบครัว กฎหมายหรือการปกครองก็ตาม
           จุดสำคัญของมาตรานี้อยู่ที่ประเด็นด้านกฎหมายและการปกครอง อนุสัญญาฯ มุ่งที่จะสนับสนุนให้พ่อแม่ ผู้พิพากษา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคคลอื่น ๆ ที่มีเด็กในความรับผิดชอบ ให้การพิจารณาความคิดเห็นของเด็กในเรื่องเหล่านี้ และใช้ข้อมูลที่ได้รับประกอบในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่เด็ก ในหลาย ๆ ประเทศ ได้มีการตรากฎหมายที่บังคับว่าจะต้องมีการพิจารณาความคิดเห็นของเด็กในเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว

 กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก 127/8 ม.2 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.แฟ็กซ์ (053) 213192

Email Addess :  VGCD30@hotmail.com

[VGCD] [Who are VGCD] [Activities] [Help] [Staff] [Child] [story] [English]